cooling darliekim

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

"สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า"แห่งอลาสก้า

เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน ผู้เดินเรือรอบโลกสำเร็จเป็นรายแรกของโลก แต่ไม่เหลือชีวิตกลับมา


เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน

เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães; สเปน: Fernando de Magallanes; อังกฤษ: Ferdinand Magellan; ประมาณ พ.ศ. 2023 – 27 เมษายน 2064) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส

เกิดที่เมืองซาโบรซาหรือโปร์ตู ประเทศโปรตุเกส หลังรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและที่โมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับประเทศสเปน

มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซวิลล์ในปี พ.ศ. 2062 เลาะไปตามชายฝั่งของ อเมริกาใต้ (แหลมเวอร์จิ้น) จนถึงมหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" ในปี พ.ศ. 2063


แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์ แต่เรือของเขาก็ได้เดินทางกลับไปถึงสเปนในปี พ.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการบรรจบรอบของการเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก

ชื่อของช่องแคบมาเจลลันเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) สมัยอยุธยา

โคลอสเซี่ยม กรุงโรม สิ่งมหัศจารรย์ของโลก

การสำรวจทางทะเลในศตวรรษที่ 18 ของกัปตัน เจมส์ คุก

การเดินทางเพื่อการสำรวจทางสมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้เริ่มต้นในประเทศอังกฤษโดยเรือ HMS Endeavor ซึ่งออกจากท่าเรือ Plymouth ในปี ค.ศ. 1768 ภายใต้การบังคับบัญชาของ กัปตัน เจมส์ คุก ซึ่งเป็นนายทหารเรือที่เฉลียวฉลาดและมีความเป็นผู้นำ ประกอบกับเป็นผู้มีความรู้ในหลายศาสตร์อาทิ การเดินเรือ แผนที่ นักเขียน ศิลปะ นักการทูต และนักโภชนาการ จุดประสงค์หลักของการเดินทางครั้งนี้คือเพื่อหาที่ตั้งฐานทัพของตนทางทะเลใต้ และนอกจากนี้ยังเป็นการหาข้อมูลทางด้านสมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางทะเล ในช่วงเริ่มต้นกัปตันคุกได้เชิญนักวิทยาศาสตร์จาก The Royal Society ไปยังเกาะตาฮิติ เพื่อรวมสังเกตวงโคจรของดาวศุกร์ ซึ่งได้นำมาคำนวณหาค่าวงโคจรของโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีผู้ทำการคำนวณมาก่อนหน้านี้แล้วเช่น Sir Edmund Halley จากนั้นกัปตันคุกและคณะได้เดินทางลงไปทางซีกโลกใต้เพื่อทดสอบทฤษฎีที่ว่ายังมีแผ่นดินที่เป็นทวีปอยู่ทางซีกโลกใต้ ในสมัยนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าต้องมีแผ่นดินอยู่ทางซีกโลกใต้เพื่อให้มีความสมดุลกับซีกโลกเหนือ เขาได้สำรวจพบทวีปออสเตรเลีย แนวปะการัง The Great Barrier Reef และนิวซีแลนด์ โดยได้ทำแผนที่การเดินทาง รวมถึงบันทึกลักษณะของชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่เดิมและทำการผูกมิตรกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมือง กัปตันคุกเดินทางกลับประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1771 การเดินทางครั้งนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้เขาเป็นอย่างมาก ในปีต่อมากัปตันคุกได้รับหน้าที่ให้บัญชาการเรือ HMS Resolution and Adventure ไปทำการศึกษาทางสมุทรศาสตร์อีกครั้ง ในการเดินทางครั้งนี้เขาได้ทำแผนที่ของ Tonga และเกาะ อีสเตอร์ ค้นพบเกาะนิวคาลีโดเนียในมหาสมุทรแปซิฟิก และเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติก กัปตันคุกเป็นคนแรกที่เดินเรือไปยังละติจูดสูงๆในซีกโลกใต้คือ 71 องศาใต้ แต่เขายังไม่ได้ค้นพบทวีปแอนตาร์คติก ในการสำรวจครั้งที่สองนี้กัปตันคุกเดินทางกลับอังกฤษในปีค.ศ. 1775 และในปี ค.ศ. 1776 ก็เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเขากับเรือ HMS Resolution and Discovery โดยเดินทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังแคนาดา อลาสก้า และไซบีเรีย เขาได้ค้นพบหมู่เกาะฮาวาย และทำแผนที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ กัปตันคุกถูกฆ่าตายโดยชาวพื้นเมืองเกาะฮาวายด้วยความเข้าใจผิดในปี ค.ศ. ๑๗๗๙ เส้นทางการเดินทางของเขาแสดงไว้ในภาพ
กัปตันคุกได้รับเกียรติให้เป็นนักสมุทรศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งเนื่องจากเขาได้บันทึกสิ่งที่เขาได้พบเห็น ไว้อย่างละเอียด เก็บตัวอย่างทั้งพืช สัตว์ทะเลและสัตว์บก บันทึกลักษณะของพื้นท้องทะเลและข้อมูลทางธรณีวิทยาในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้กัปตันคุกยังทำแผนที่การเดินทางของเขาโดยเฉพาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้อย่างถูกต้องแม่นยำแผนที่ดังกล่าวนี้ได้ถูกใช้โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

มีคำถามว่ากัปตันคุกหรือโคลัมบัสทราบได้อย่างไรว่า ตำแหน่งที่เขาอยู่ในทะเลในเวลานั้นคือที่ใด ถึงแม้ว่าจะอาศัยแผนที่การเดินทางที่มีความถูกต้องเที่ยงตรง แต่ถ้านักเดินเรือไม่ทราบตำแหน่งที่เขาอยู่ในขณะนั้นเขาก็จะไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้หรือไม่สามารถกลับไปยังดินแดนที่เขาค้นพบใหม่ได้

คำตอบคือในเวลากลางคืน โคลัมบัสและนักเดินเรือรุ่นเก่าได้อาศัยแสงจากดาวฤกษ์เพื่อหาตำแหน่งละติจูด ซึ่งเขาจะทราบว่าตำแหน่งที่เขาอยู่นั้นอยู่ทางซีกโลกเหนือหรือซีกโลกใต้ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายคือขณะที่อยู่ในซีกโลกเหนือ เราสามารถใช้เพียงไม้โปรแทรกเตอร์เพื่อหาละติจูดที่เราอยู่ได้โดยการวัดมุมในแนวระนาบระหว่างดาวเหนือกับตาของผู้สังเกต ส่วนในในซีกโลกใต้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้

ปัญหาสำคัญในการเดินเรืออย่างแท้จริงก็คือการหาตำแหน่งลองติจูดของผู้สังเกตในขณะนั้น โดยเราสามารถหาลองติจูดได้โดยอาศัยนาฬิกา สิ่งแรกคือหาเวลาเที่ยงตรงในบริเวณนั้นซึ่งเงาของวัตถุใดๆจะสั้นที่สุดเนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์จะส่องออกมาเป็นมุมตรงพอดีและบันทึกเวลาในขณะนั้นไว้ และหลังจากเดินทางไปทางตะวันตกจากจุดสังเกตครั้งแรกเราจะพบว่านาฬิกาที่บอกเวลาเที่ยงตรงที่ตำแหน่งใหม่จะไม่ใช่เวลาเที่ยงตรง ณ จุดสังเกตครั้งแรก สมมติความแตกต่างของเวลาเที่ยงตรงของจุดแรกและจุดที่สองเท่ากับสามชั่วโมง เราสามารถใช้หลักคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ในการหาตำแหน่งได้ว่าระยะทางระหว่างจุดแรกและจุดที่สองห่างกันกี่องศา

เนื่องจากโลกหมุนไปทางทิศตะวันออกและหมุนรอบตัวเองเป็นมุม 360 องศาในเวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นในเวลาสามชั่วโมงระยะห่างระหว่างจุดแรกกับจุดที่สองคิดเป็นมุมเท่ากับ 45 องศา ซึ่งหมายความว่าหากมีนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงมากเท่าไหร่การประมาณตำแหน่งลองติจูดก็จะมีความแม่นยำมากเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1707 กองเรืออังกฤษภายใต้การนำของ Sir Cloudley Shevel ได้แล่นอยู่รอบเกาะซิซิลี เนื่องจากการกะตำแหน่งลองติจูดผิดพลาดทำให้หลงทาง หลายสัปดาห์ต่อมาเรือพร้อมด้วยลูกเรือ 2,000 คนได้หายสาบสูญไป กรณีดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่กองทัพเรืออังกฤษถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ในปี ค.ศ. 1714 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศให้รางวัลสองหมื่นปอนด์ กับผู้ที่สร้างนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรง ซึ่งในปี ค.ศ. 1728 John Harrison ได้ประดิษฐ์นาฬิกาต้นแบบที่มีความเที่ยงตรงสูงมากเรียกว่า chronometer นาฬิกาแบบดังกล่าวได้ถูกพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบในปี ค.ศ. 1760 โดยมีความผิดพลาดเพียง 5 วินาทีต่อวัน

ภาพ โมนาลิซ่า(Mona Lisa)

โมนาลิซ่า(Mona Lisa) หรือ ลา โฌกงด์ (La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง ค.ศ. 1503 ถึงปี 1507 เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

คำว่า โมนาลิซ่า นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์จีโอ วาซารี ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซ่า เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเซสโก้ เดล กิโอคอนดา(Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา(Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา(madonna) คุณผู้หญิง(my lady) หรือ มาดาม(Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ มาดาม ลิซ่า แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซ่า(Monna Lisa) แทน เนื่องจากภาษาอิตาลีคำว่ามาดอนนานั้น ส่วนมากจะใช้คำย่อว่า มอนนา(Monna)

ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1503 ถึง ค.ศ. 1507 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด

ในปี ค.ศ. 1516(พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปราถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Luc ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519(พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 63 ปี

ใบหน้าของมาดามลิซ่าในช่วงแรก ภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังทุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม
ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1870-ค.ศ. 1871 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1911 ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

Mozart สุดยอดนักดนตรีระดับตำนานของโลก

หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า วิวัฒนาการของการเผยแพร่ข่าวสารบ้านเมืองผ่านตัวอักษรนั้นมีให้เห็นกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ก่อนที่ โจฮานน์ กูเตนเบิร์ก จะสามารถผลิตแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จในปี 1447 เสียอีก      
        "The Roman Acta Diurna" ได้รับการจดบันทึกให้เป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์ในยุคต้นๆ โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงราว 59 ปีก่อนคริสตกาล โดยจูเรียส ซีซาร์ ผู้นำอาณาจักรโรมัน       
       ซีซาร์ต้องการให้ "The Roman Acta Diurna" ใช้เป็นที่แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของรัฐบาล โครงการรณรงค์ทางด้านการทหาร กระบวนการพิจารณาคดี และการสำเร็จโทษต่างๆ ให้แก่พลเมืองได้รับทราบ ซึ่งลักษณะของการเผยแพร่ข่าวสารแบบ "The Roman Acta Diurna" ก็คือ การเขียนข้อความต่างๆ ลงบนกระดานขนาดใหญ่ แล้วนำไปตั้งไว้ตามสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน
      
        สำหรับการเผยแพร่ข่าวสารผ่านตัวอักษรลงบนกระดาษปรากฏให้เห็นครั้งแรกที่ประเทศจีนในราวศตวรรษที่ 8 โดยทางการจีนจะใช้วิธีเขียนข่าวสารลงบนกระดาษแล้วนำไปติดไว้ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างที่เราเคยเห็นในหนังจีนกำลังภายในทั้งหลายนั่นเอง      
        ทว่า หลังจากที่กูเตนเบิร์กประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ชาวยุโรปก็เริ่มใช้วิธีการพิมพ์ข่าวสารแทนการเขียนด้วยลายมือ แต่ในยุคแรกๆ ของการถือกำเนิดสิ่งพิมพ์นั้น การเผยแพร่ข่าวสารยังคงอยู่ในรูปแบบของ "จดหมายข่าว" มากกว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข่าวสารด้านการค้าขาย      
        จวบจนกระทั่งในปี 1605 จึงได้มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลกเกิดขึ้น โดยเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่มีชื่อว่า "Relation" ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเยอรมนี จากนั้นประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฝรั่งเศส เบลเยียม อังกฤษ ก็เริ่มเอาอย่างบ้าง

การปกครองระบอบเผด็จการ

ความหมายของระบอบเผด็จการ

       ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการเมืองการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมา กกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนไม่มีสิทธิเข้าไปมีส่วนในการปกครอง เป็นแต่เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

       ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทุกรูปแบบ จะยึดหลักการที่เหมือนกัน    คือ ปรัชญาการใช้กำลัง ซึ่งถือว่าผู้เข้มแข็งมี อิทธิพลและกำลังย่อมมีสิทธิได้รับอำนาจการปกครอง โดยถือว่าอำนาจคือ ธรรม  แนวคิดในเรื่องเผ็ดการทางการเมืองส่วนใหญ่มักจะมองจากข้อเขียนและแนวปฏิบัติของ เบนิโต  มุสโสลินี  ผู้นำของ อิตาลี และ อดอร์ฟฮิตเลอร์  ผู้นำของเยอรมนีในช่วงสงครามครั้งที่สองแต่ความจริงเผด็จการมีมาแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งอาจแบ่งความหมายของเผ็ดการได้เป็น 3 ฐานะด้วยกัน คือ

              1.เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง  แนวคิดทางการเมืองของระบอบเผด็จการเชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมดี  ความถูกต้อง และความยุติธรรม รัฐเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามเหล่านี้ไปสู่ประชาชน  ประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่องฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ ส่วนตัวแทนของรัฐออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม ก็คือ ผู้นำ ซึ่งอาจมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว  หรืออาจเป็นกลุ่มผู้นำก็ได้ อุดมการณ์ของระบบเผด็จ การนั้นถือว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างถูกต้องการกระทำได ของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ของประชาชน   ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ฉะนั้นการ ที่มีผู้ขัดขวางหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำจะถูกกล่าวหาเป็นผู้หวังจะทำลายชาติและประชาชน
               2.เผด็จการในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง  การปกครองเผด็จการโดยทั่วไป  หมายถึงระบอบร่วมอำนาจของผู้ปกครอง คือ  ผู้ปกครองต้องยึดอำนาจรัฐไว้ได้  ส่วนใหญ่มักจะใช่วิธีการรุนแรงในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น เช่น การทำรัฐประหารโดยผู้นำรัฐประหารหรือผู้นำเผด็จเหล่านี้พยายามใช่วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ และขยายอำนาจเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจมีการจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ที่สำคัญๆในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ผู้ใกล้ชิดหรือญาติมิตรคุมกองกำลังที่ มีอาวุธทั้งทหารและตำรวจ
              3.เผด็จการในฐานะที่เป็นวิธีชีวิต  หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม แนวคิด  ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคม  ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้  โดยมีความเชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนย่อมมีความแต่ต่างกันในทุก ด้าน  ผู้ที่ด้อยกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้  ที่เหนือกว่า ทั้งนี้ เพื่อจะให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้าอย่างเป็นเอกภาพ ความเชื่อระบอบเผด็จการกลุ่มนี้จึงพยายามไม่ให้ความขัดแย้งขึ้น ในสังคมซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรของสังคมและนิยมใช้อำนาจในการ ขจัดขัดแย้งมากกว่าที่จะใช้วิธีการประนีประนอม

เจมส์ วัตต์ (James Watt) ผู้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำ

เฮอร์นาน คอร์เตซ ผู้พิชิตแดนเม็กซิโก ความพินาศของชนเผ่าแอซแทค

เมื่อพูดถึงชาวสเปนผู้พิชิตอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนอเมริกาใต้กันแล้วละก็ " เฮอร์นาน คอร์เตส" ก็เป็นอีกนามหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากที่สุดคนหนึ่ง ในยุค แห่งการสำรวจทางทะเล หรือดินแดนโลกใหม่ เมื่อช่วง 500 ปีที่แล้ว โดยชาวสเปนผู้นี้ สามารถพิชิต "อาณาจักรแอซเท็ก" หนึ่งในอาณาจักรอันเลื่องชื่อ แห่งแดนอเมริกาใต้ ได้อย่างราบคาบ คือ ทำให้อาณาจักรแห่งนี้ถึงกาลล่มสลายกันไปเลย ภายหลังจากคอร์เตส นำกำลังทหารชาวสเปนเข้าทำสงคราม ก่อนที่จะจับ กษัตริย์ม็อกเตซูมา ที่ 2 องค์ประมุขเป็นเชลย ส่งผลให้อาณาจักรแอซเท็กถึงกาลอวสาน เมื่อปี พ.ศ. 2064 จากการที่กองทัพสเปนภายใต้การนำของคอร์เตส ได้รับชัยชนะครั้งนี้ ก็เปรียบ เสมือนเป็นการเปิดประตูให้ทัพสเปนเดินทางรุกคืบยึดดินแดนบริเวณตอนในของเม็กซิโกต่อไป

ประวัติการสร้างกำแพงเมืองจีน

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวอิตาเลียน ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวอิตาเลียนผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในยุคใหม่ เสียชีวิต  โคลัมบัสเกิดที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลีเมื่อปี 1994 ในสมัยนั้นผู้คนยังเชื่อว่าโลกแบน แต่โคลัมบัสต้องการค้นหาดินแดนแห่งเครื่องเทศและผ้าไหม ที่เรียกว่าอินเดียและจีน เขาจึงเสนอเป็นผู้สำรวจดินแดนดังกล่าวให้กษัริย์โปรตุเกสแต่ไม่สำเร็จ จึงเดินทางไปประเทศสเปนและเสนอตัวต่อ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 (Ferdinand II of Aragon) และ พระนางอิสซาเบลลา ที่ 1 (Isabella of Castile) เพื่อออกสำรวจอินเดียและจีน เพื่อทำการค้าเครื่องเทศและผ้าไหม ในที่สุด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2035 โคลัมบัสและลูกเรือ 90 คนและเรืออีก 3 ลำออกเดินเรือค้นหาทวีปเอเชียและจีน โดยแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค และไปถึง เกาะบาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน และตั้งชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2035 ซึ่งเขาคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา ฮิสปานิโอลา เปอร์โตริโก จาเมกา ตรินิแดด เวเนาซุเอลา และคอคอดปานามา โคลัมบัสเชื่อมาตลอดจนเสียชีวิตว่าดินแดนที่เขาค้นพบนั้นคือทวีปเอเชีย ภายหลังได้มีการกำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่โคลัมบัสมาถึงอเมริกาเป็น "วันโคลัมบัส" มีการเฉลิมฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

บอร์ด สปสช. อนุมัติกรอบวงเงินดูแลผู้ป่วยในสิทธิบัตรทอง

ที่มา : สำนักข่าวไทยออนไลน์ ประจำวันที่ ๕ มี.ค.๒๕๕๔
..........................................................................................................................................................
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า ที่ประชุมบอร์ด สปสช.เห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณปี ๒๕๕๕  ที่กำหนดงบจ่ายรายหัว ๒,๗๕๕.๖๐  บาทต่อคน โดยจะเป็นงบประมาณเหมาจ่ายรวม ๑๐๐,๓๙๑,๑๓๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อประชากรจำนวน ๔๗,๓๓๓,๐๐๐ คน  เป็นงบประมาณ ด้านการดูแลสุขภาพผู้ติดเชื้อ ๒,๙๔๐.๐๕๕ ล้านบาท สำหรับประชากร ๑๕๗,๖๐๐ คน งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ๓,๗๕๗.๗๙๓ ล้านบาท ต่อประชากร ๒๑,๔๗๖ คน งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ๔๓๗.๗๙๕ ล้านบาท สำหรับประชากร ๑,๖๑๔,๒๑๐ คน งบบริการผู้ป่วยจิตเวช ๑๗๗.๑๔๑ ล้านบาท สำหรับประชากร ๑๑๑,๑๗๒ คน
ส่วนเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง ๓ กองทุน ทั้งสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพ ในเรื่องของการดูแลผู้บาดเจ็บกรณีฉุกเฉินนั้น ที่ประชุมได้มีการชี้แจงให้กับโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งตำรวจ และกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลเอกชนรับทราบ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน โดยการรักษาเน้นการให้การดูแลรวดเร็ว ไม่มีการถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินล่วงหน้า และใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว. ( สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ มี.ค.๒๕๕๕)